Erp 101

นั่งเทียน นอนเทียน ศึกษา ERP คำเตือน โปรดระวัง ผมไม่เคยทำงานหรือใช้ SAP มาก่อน

Friday, June 24, 2005

Posting G/L Transaction

การบันทึก G/L Transaction
จะประกอบด้วยส่วนหัวเอกสาร
กับส่วน รายการทางบัญชีที่ลง

ตัว sap จะมีวิธีบันทึกอยู่ 2 แบบ
คือแบบ complex (version ดั้งเดิม)
กับ แบบ enjoy transaction (gui รุ่นใหม่)

การบันทึกแบบ complex จะมีลักษณะ
เป็นแบบ flow ของ screen
โดยหน้าแรก เป็นการบันทึกส่วนหัว
ส่วนหน้าถัดไป เป็นการบันทึก item
ซึ่งใช้ 1 หน้าต่อ 1 item

ส่วนการบันทึกแบบ enjoy จะใช้
การบันทึกลง widget table โดยตรง (หน้าเดียวจบ)
โดย user สามารถเลือก template
เพื่อกำหนดว่า table ต้องมีช่องอะไรให้กรอกได้

การบันทึกส่วนหัว จะประกอบด้วย
  • document date
  • document type
  • company code
  • posting date
  • period
  • currency
  • document number
  • transaction date
  • reference
  • document header text

document type เช่น
  • dr customer invoice
  • dg customer credit memo
  • dz customer payments
  • sa G/L account document
  • kr vendor invoice
  • kg vendor credit memos
  • kz vendor payment
  • kn venor net invoices and credit memos

ตัว document type จะใช้ control
เลขที่ document number ด้วย
(ตอน config document type ต้อง
กำหนด range ของ document number ด้วย)

การบันทึก item ทำได้โดยใส่ posting key
กับ เลขที่บัญชี
ตัวที่น่าสนใจก็คือ posting key ซึ่งเป็น
รหัสแสดงว่า item ที่เรา post เข้าไปนั้น
เป็นชนิดอะไร เช่น vendor, customer, asset หรือว่าแค่บัญชีธรรมดา
ตัว posting key จะมีผลดังนี้
  • posting key + account code จะเป็นตัวกำหนดว่า จะมี field อะไร
    ที่ต้องใส่บ้างในหน้า จอบันทึกรายการบัญชี
  • กำหนดด้านการลงบัญชี ว่าเป็นประเภท debit หรือ credit

Note: กรณี posting key ที่ต้องใส่ กรณีที่เป็น G/L
transaction ถ้าเป็นบ้านเรา
user ไม่น่าจะยอมใส่ง่ายๆนะ
แต่เห็นว่าใน sap enjoy transaction
ได้ปรับปรุงในส่วนนี้ใหม่
โดยกำหนดว่า user ไม่ต้องใส่ posting key ก็ได้
ตัวโปรแกรมจะใช้ค่า default ซึ่งก็คือค่า 40(debit) หรือ 50(credit)

หลังจาก post แล้ว
sap จะทำการ update ยอด balance ให้โดยอัตโนมัติ
ซึ่งเราสามารถใช้หน้าจอสอบถาม เข้าไปดูได้ทันที
โดยจากหน้าจอ balance เราสามารถ zoom ลงไปดู line item
ที่ประกอบขึ้นมาเป็นยอด balance นั้น
และจาก line item เราก็สามารถเปิดดู
ตัว document ที่เป็นต้นตอของ line item นั้นๆได้

0 Comments:

Post a Comment

<< Home